บริษัท นิโคโย่เบรค จำกัด, 45 ซอยยี่สิบสองกรกฎาคม 2, ถนนไมตรีจิตต์, แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, กรุงเทพฯ 10100, ประเทศไทย

โทร 021260570

infonikoyo@gmail.com

จันทร์-ศุกร์ : 9:00 AM - 5:30 PM

วันจันทร์-วันศุกร์ 9:00AM - 5:30PM
สนใจสามารถติดต่อได้ที่ไลน์บริษัท @nikoyo
บริษัท นิโคโย่เบรค จำกัด, 45 ซอยยี่สิบสองกรกฎาคม 2, ถนนไมตรีจิตต์, แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, กรุงเทพฯ 10100, ประเทศไทย

รู้หรือไม่ ? เหยียบเบรคบ่อย ไม่ใช่เรื่องดี

รู้หรือไม่ ? เหยียบเบรคบ่อย ไม่ใช่เรื่องดี

พฤติกรรมการขับขี่ด้วยวิธีเหยียบคันเร่ง แล้วพอถึงความเร็วก็ เบรค จากนั้นก็เร่งอีกครั้ง หรือเรียกอีกอย่างว่า ขับๆ เบรคๆ นั้นเอง ซึ่งการที่ เหยียบเบรค บ่อยๆ นั้นมีแต่ข้อเสีย NIKOYO BRAKE จะพาไปดูกันสิว่าข้อเสียที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง
การที่ เหยียบเบรค บ่อยๆ เป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง แถมยังมีข้อเสียอีกต่างหาก โดยเฉพาะชิ้นส่วนต่างๆ ของรถยนต์อาจจะสึกหรอเร็วกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็น ผ้าเบรค ที่หมดไวกว่าปกติ บางคนเปลี่ยน ผ้าเบรค ปีต่อปี ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผ้าเบรค จะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 30,000-40,000 กิโลเมตร (ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการขับขี่ของแต่ละบุคคล) พร้อมทั้งเครื่องยนต์ และระบบส่งกำลังก็จะสึกหรอไปด้วย
นอกจากนี้ การที่ เหยียบเบรค บ่อยๆ ยังสร้างความรำคาญให้กับรถคันข้างหลัง และอาจจะก่อเกิดอันตรายได้อีกด้วย แถมยังส่งผลเรื่องของการประหยัดน้ำมัน ไม่ว่าคุณจะขับรถอีโคคาร์ หรือขับรถหรูที่แสนจะมีราคาขนาดไหน ถ้ายังมีพฤติกรรมในการขับแบบเร่งๆ แล้วก็เบรกบ่อยๆ จะทำให้การสั่งจ่ายน้ำมันมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมเครื่องยนต์คำนวณจากการใช้ลิ้นเร่งของผู้ขับขี่ และเมื่อมีการปรับอยู่ตลอดเวลา จะทำให้การสั่งจ่ายน้ำมันไม่นิ่ง เมื่อมันไม่นิ่ง ก็จะส่งผลถึงอัตราประหยัดนั่นเอง
เราพอจะทราบถึงผลเสียของการขับรถแบบขับไปเบรคกันไปแล้ว หากใครที่มีพฤติกรรมแบบนี้ก็อยากให้ปรับปรุงกันนะคะ เพราะมันส่งผลต่อสุขภาพรถและตัวคุณเองด้วย หรือใครมีความรู้สึกว่าขับๆไปทำไมเบรคเรามันไม่ค่อยทำงาน วันนี้ เราก็มีวิธีดูแลระบบเบรคของรถคุณให้ทราบกันนะครับ
  •  เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรค
การเปลี่ยนถ่ายน้ำเบรคควรเปลี่ยนปีละหนึ่งครั้ง เพราะน้ำมันเบรคก็มีอายุการเสื่อมสภาพเช่นกัน หรือบางคนอาจเปลี่ยนทุกๆ 25,000 กิโลเมตรก็ได้เช่นกัน แต่การเปลี่ยนน้ำมันเบรคควรใช้ค่ามาตราเดิมตามคู่มือหรือตามที่ระบบเบรคนั้นๆ ไม่ควรนำน้ำมันเบรคค่าอื่นๆมาผสมลงไป เพราะอาจทำให้ลูกยางหรือท่อสายต่างๆบวมได้
  • เช็คผ้าเบรค
ในระบบเบรคทั้งหมดทั้งมวล ผ้าเบรคเป็นส่วนที่สึกหรอไวที่สุด ควรจะนำออกมาเช็คเนื้อผ้าเบรค เพราะอาจมีเศษหินหรือเหล็กมาติดอยู่บริเวณจานเบรคจนเกิดเป็นรอย หรือถ้าระบบเบรคนั้นเป็นแบบดรัม ควรเช็คระยะห่างของผ้าเบรค เพื่อให้เบรกของรถคุณมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
  • จานเบรค
หากจานเบรคคุณมีร่องลึกเป็นเส้นยาวที่เกิดจากเศษหิน เศษเหล็กมาติด ให้นำจานเบรคไปเจีย ซึ่งก็ต้องระวังการเจียเบรคด้วย หากเบรคคุณบางเกินไปอาจเกิดปัญหาจานเบรคร้าวได้หรือทางที่ดีถ้ามีเงินก็ซื้อเปลี่ยนเลยปลอดภัยกว่า
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีพฤติกรรมชอบ เหยียบเบรค บ่อยๆ แนะนำให้เลิกพฤติกรรมนี้ซะ เพราะถ้าคุณเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ได้ การสึกหรอของชิ้นส่วนต่างๆ ของรถยนต์ก็จะสึกหรอช้าลง ผ้าเบรคก็ไม่ต้องเปลี่ยนเร็วกว่าปกติ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ถนน แถมยังประหยัดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันอีกด้วยคะ
  • ท่อและสายต่างๆ
ควรเช็คว่าสายยังนิ่มอยู่ไม่เสียรูปหรือแตกร้าว เพราะหากแข็งกระด้างมากหรือกรอบเกินไป เวลาใช้งานน้ำมันเบรคอาจซึมออกทางนั้นจนกลายเป็นรถเบรคแตกได้
  • ล้างระบบเบรค
ไม่ว่าจะเป็น พวกลูกยาง บูช ลูกสูบเบรค ล้วนแต่ต้องทำความสะอาด ทั้งนั้น ไหนจะลุยน้ำ ลุยดิน ลุยฝุ่น แบบนี้ยิ่งต้องล้างเป็นพิเศษ เพราะหากอะไหล่เล็กๆพวกนี้เสียอาจทำให้ระบบเบรคมีปัญหาได้
เป็นอย่างไรกันบ้างกับผลเสียของการขับไปเบรคไป แล้ว วิธีการดูแลระบบเบรครถเบื้องต้น เป็นเรื่องที่เราห้ามมองข้ามเลยเด็ดขาด เพราะมันอาจทำให้คุณประสบอุบัติเหตุได้บนท้องถนน การเช็คระบบเบรคหรือนำรถเข้ามาเช็คสภาพรถที่ศูนย์บริการ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งหากคุณใช้รถอยู่สม่ำเสมอ
Admin

Tags

nikoyo Nikoyo Brake การทำงานของระบบเบรค จานเบรครถยนต์ขึ้นสนิม ชิ้นส่วนรถยนต์เทียบแท้ ดูแลรักษาหม้อน้ำ ตรวจเช็คช่วงล่างรถ น้ำมันเบรค ประเภทผ้าเบรค ปรับสภาพหน้าผ้าเบรค ปัญหาฝุ่นติดล้อ ผ้าเบรก ผ้าเบรค ผ้าเบรคควรเปลี่ยนตอน ผ้าเบรคประกอบด้วยอะไรบ้าง ผ้าเบรครถยนต์ ผ้าเบรครถยนต์เซรามิค ผ้าเบรคเกรดเทียบแท้ ฝุ่นจากผ้าเบรก ระบบเบรค ระบบเบรครถยนต์ ระะบบเบรค รันอินผ้าเบรค วิธีสังเกตผ้าเบรค วิธีเช็คแบตเตอรี่รถยนต์ วิธีแก้จานขึ้นสนิม สนิมขึ้นจานเบรค สัญญาณเตือเปลี่ยนผ้าเบรค สัญญาณเบรคอันตราย ส่วนประกอบผ้าเบรค ส่วนประกอบ ผ้าเบรค เซรามิก อะไหล่ Aftermarket อะไหล่ OEM อะไหล่เทียบแท้ อาการเบรคผิดปกติ อายุการใช้งานผ้าเบรค เช็คแบตเตอรี่ เช็คแบตเตอรี่รถยนต์ที่ถูกต้อง เบดดิ้งอินผ้าเบรค เบรค เบรคมือ เบรครถยนต์ เปลี่ยนผ้าเบรครถยนต์ราคา เศษฝุ่นจากผ้าเบรก โปรแกรมช่วยคิดเงินเดือน