บริษัท นิโคโย่เบรค จำกัด, 45 ซอยยี่สิบสองกรกฎาคม 2, ถนนไมตรีจิตต์, แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, กรุงเทพฯ 10100, ประเทศไทย

โทร 021260570

infonikoyo@gmail.com

จันทร์-ศุกร์ : 9:00 AM - 5:30 PM

วันจันทร์-วันศุกร์ 9:00AM - 5:30PM
สนใจสามารถติดต่อได้ที่ไลน์บริษัท @nikoyo
บริษัท นิโคโย่เบรค จำกัด, 45 ซอยยี่สิบสองกรกฎาคม 2, ถนนไมตรีจิตต์, แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, กรุงเทพฯ 10100, ประเทศไทย

ขับรถทางไกล วันหยุดสงกรานต์ 2567 ทำตามนี้ “ปลอดภัยชัวร์”

คู่มือเดินทางไกล วันหยุดสงกรานต์ 2567

ขับรถทางไกล วันหยุดสงกรานต์ 2567 ทำตามนี้ “ปลอดภัยชัวร์”

ข้อควรปฎิบัติสำหรับการขับรถ สิ่งไหนควรทำ และสิ่งไหนที่ไม่ควรทำ ระหว่างการ ขับขี่รถทางไกล ในช่วง วันหยุดสงกรานต์ 2567 เพื่อป้องกันการเกิด อุบัติเหตุ ร้ายแรง เพื่อความ ปลอดภัย ในชีวิตของคุณเอง และเพื่อนร่วมทางบนถนน

  • สิ่งที่ควรทำ
    1. ใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ควรใช้ความเร็วเกิดนที่กฎหมายกำหนด เพราะหากคุณใช้ความเร็วมากๆ ประสิทธิภาพในการควบคุมรถของคุณก็จะลดลงไปด้วย แน่นอนว่าด้วยความเร็วของการขับ หากมีเหตุการณ์ฉุกละหุกกระทันหัน โอกาสที่จะบังคับรถได้อย่างใจหวังนั้น น้อยมากหรือแทบจะเป็น 0% เลยทีเดียว
    2.มีน้ำใจกับเพื่อนร่วมทาง ไม่ขับรถด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว หากท่านทำได้ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุจะน้อยลงมาก ไม่ว่าใครจะเป็นอย่างไรอย่าไปสน หากเราควบคุมตัวเองได้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด
    3.เคารพกฏจราจรอย่างเคร่งครัด คนส่วนมากพอออกนอกเมื่องแล้ว มักจะเผลอเรอ ทำตัวมักง่าย ไม่ค่อยเคารพกฏหมาย เพราะคิดว่า ยังไงแล้วตำรวจก็ไม่เห็น แถมกล้อง CCTV ก็ไม่มีอีก ถ้าท่านคิดแบบนี้ ขอยอกเลยว่าคิดผิดถนัดเลย เพราะความคิดแบบนี้อาจจะเป็นบ่อเกิดที่นำท่านไปสู่หายนะก็ได้
    4.พักผ่อนเยอะๆ ป้องกันการหลับในระหว่างการขับทางไกล
  • สิ่งที่ไม่ควรทำ
    1.ขับช้าแต่อยู่เลนขวา หากท่านมีพฤติกรรมแบบนี้ ขอให้เปลี่ยนด่วนๆเลย เพราะพฤติกรรมแบบนี้อาจจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้เลย
    2.เปลี่ยนเลนไปมาบ่อยๆ หรือขับรถปาดไปมา แน่นอนว่าการขับแบบนี้จะสร้างความรำคาญให้กับเพื่อนร่วมทางอย่างแน่นอน
    3.ถอยหลังเพื่อเปลี่ยนเส้นทาง ในกรณีนี้มักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ขับรถเลยทางหรือซอย ถ้าหากขับเลยหรืออยากเปลี่ยนเส้นทาง แนะนำว่าให้ยูเทิร์นกลับมาจะดีกว่าครับ
    4.หยุดรถกระทันหัน เพราะอาจจะทำให้รถคันหลัง เบรคไม่ทัน

เบรครถยนต์ เป็นอีกหนึ่งใน ระบบความปลอดภัย ในรถที่ต้องมี การดูแลรักษา มากเป็นพิเศษ เพราะเมื่อใช้ไปนานๆ การสึกหรอ หรือ เสื่อมสภาพ ก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แต่เราก็สามารถยืดอายุให้มีการใช้งานได้แบบยาวนานยิ่งขึ้น เพียงแต่ต้องมีการดูแลรักษาที่สม่ำเสมอหน่อย ส่วนจะมีวิธีการอย่างไรบ้างนั้น ลองมาดูกันเลย

  • เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรคตามกำหนด ส่วนมากการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรค จะต้องทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือทุกๆ 10,000 กม.
  • เช็คผ้าเบรคอย่างสม่ำเสมอ ผ้าเบรคถือเป็นส่วนที่มีการสึกหรอบ่อยที่สุด เราสามารถเช็คผ้าเบรคแบบวิธีบ้านๆได้ด้วยตัวเองเลยก็คือ ถ้าเหยียบเบรคแล้วรู้สึกว่าแป้นเหยียบต่ำกว่าปกติ นั่นก็สันนิษฐานได้เลยว่าผ้าเบรคหมด อีกวิธีหนึ่งก็คือ ให้สังเกตจากเสียงการดึงเบรคมือ ถ้าเกิน 7 แก็ก หรือเบรคมือดั้งเด่กว่าปกติ ให้รีบเปลี่ยนด่วนเลย แต่ถ้าไม่แน่ใจจริงๆ ให้ปรึกษาช่างผู้ชำนาญ จะดีที่สุด
  • ล้างทำความสะอาดจานเบรค เพราะบางทีอาจจะมีสิ่งสกปรกติดที่จานเบรค เราสามารถล้างจานเบรคได้โดยใช้น้ำยาสำหรับล้างจานเบรคโดยเฉพาะ หรือใช้แอลกอฮอลล์,ทินเนอร์ก็ได้ เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • ตรวจเช็คท่อหรือสายต่างๆที่อยู่ในระบบเบรค ในส่วนนี้ถ้าจะให้การตรวจเช็คแบบละเอียดหมดจด อาจจะต้องนำรถไปให้ช่างผู้ชำนาญตรวจเช็คให้
  • ตรวจเช็คจานเบรค ถ้าจานเบรคเป็นรอย ขูดขีด หรือร่องลึก อาจจะเกิดจะโดนของแข็งมากระทบในระหว่างขับขี่ เช่นเศษหินเป็นต้น เราสามารถนำจารเบรคไปเจียใหม่ได้ หรือถ้ามีงบพอที่จะเปลี่ยนก็เปลี่ยนใหม่ไปเลย
  • ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เล็กๆ อย่างเช่น ลูกยางกันฝุ่น, ลูกยางแม่ปั๊มเบรค, ลูกยางลูกสูบเบรค ควรถอดมาล้างทำความสะอาดหรือเช็คดูบ้างว่ามีการฉีกขาดหรือมีจุดรั่วบ้างหรือไม่ เพราะถ้าอุปกรณ์เหล่านี้มีการชำรุด ก็อาจส่งผลให้ระบบเบรคมีปัญหาเช่นกัน
Shalermpon Aunchai

Tags

nikoyo Nikoyo Brake การทำงานของระบบเบรค จานเบรครถยนต์ขึ้นสนิม ชิ้นส่วนรถยนต์เทียบแท้ ดูแลรักษาหม้อน้ำ ตรวจเช็คช่วงล่างรถ น้ำมันเบรค ประเภทผ้าเบรค ปรับสภาพหน้าผ้าเบรค ปัญหาฝุ่นติดล้อ ผ้าเบรก ผ้าเบรค ผ้าเบรคควรเปลี่ยนตอน ผ้าเบรคประกอบด้วยอะไรบ้าง ผ้าเบรครถยนต์ ผ้าเบรครถยนต์เซรามิค ผ้าเบรคเกรดเทียบแท้ ฝุ่นจากผ้าเบรก ระบบเบรค ระบบเบรครถยนต์ ระะบบเบรค รันอินผ้าเบรค วิธีสังเกตผ้าเบรค วิธีเช็คแบตเตอรี่รถยนต์ วิธีแก้จานขึ้นสนิม สนิมขึ้นจานเบรค สัญญาณเตือเปลี่ยนผ้าเบรค สัญญาณเบรคอันตราย ส่วนประกอบผ้าเบรค ส่วนประกอบ ผ้าเบรค เซรามิก อะไหล่ Aftermarket อะไหล่ OEM อะไหล่เทียบแท้ อาการเบรคผิดปกติ อายุการใช้งานผ้าเบรค เช็คแบตเตอรี่ เช็คแบตเตอรี่รถยนต์ที่ถูกต้อง เบดดิ้งอินผ้าเบรค เบรค เบรคมือ เบรครถยนต์ เปลี่ยนผ้าเบรครถยนต์ราคา เศษฝุ่นจากผ้าเบรก โปรแกรมช่วยคิดเงินเดือน